Causal Factors Affecting to Student Leadership Decisions Rajamangala University of Technology

โดย สุรชัย รุ่งเรืองกุลวนิช

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลการเป็นผู้นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบสถานภาพในองค์กรนักศึกษากับการตัดสินใจเป็นผู้นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จาก 11 คณะ/1 วิทยาลัย จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ T-Test One-Way ANOVA การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe’s  2) แบบวัดประเภทมาตรประเมินค่า 6 ระดับจำนวน 6 แบบวัด มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าที่ 0.93 วิเคระห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน (Standard Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้นำนักศึกษาที่มีประสบการณ์จากสถานศึกษาเดิม  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93 (x̄= 4.93, S.D. = 0.75) สูงสุดกว่าผู้นำนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์  จากสถานศึกษาเดิม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (x̄= 4.56, S.D. = 0.72) จากการทดสอบด้วยสถิติ      t-test พบว่าค่า Sig = 0.001 แสดงว่าผู้นำนักศึกษาที่มีประสบการณ์จากสถานศึกษาเดิมจะมีการตัดสินใจในการเป็นผู้นำนักศึกษาที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ผู้นำนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่างกันมีการตัดสินใจในการเป็นผู้นำนักศึกษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ตัวแปรที่ทำนายการตัดสินใจการเป็นผู้นำนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการเห็นแบบอย่างที่ดี โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 56.4


Abstract

The objectives of this study were 1) to examine factors affecting for student leader applicants; 2) to study the compare position and decision to be student leader. Classification of students were identified under gender, years, leader experiences, position of students affair and faculty. A sample was selected from 205 students leader of 11 faculties and 1 college in RMUTT. The research instruments used were 1) questionnaire and data derived from these were analyzed with statistical tools; T-test One-way ANOVA, Mean testing, Percentage and Standard deviation by specify statistical significance at 0.05 level to test the differences Sheffe’s 2) Rating Scale at 6 levels with 6 types which have Cronbach’s alpha coefficient at 0.93 and analyzed by Standard Multiple Regression Analysis.

Research finding were as follows; 1) student leaders who did have an experience from the former institute with average equal to 4.93 (x̄=4.93, S.D.=.75) in higher level than students who did not have experiences in leadership in average to 4.56 (x̄=4.56, S.D.=0.72) From the t-testing, sig=0.001 revealed student leaders who had an experience from their old school would have a being leadership decision which was different at the statistically level 0.01; 2) student leaders who had different school-record would have a being leadership decision which was different at the statistically level 0.05; 3) the predicting valuable decision to be a student leadership at the statistically level 0.05 was achievement motivation and seeing a good role model which were able to predict at 56.4%.


DownloadCausal Factors Affecting to Student Leadership Decisions Rajamangala University of Technology