โดย จุฑาภรณ์ ยอดเสนีย์

ปี 2563


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1,734 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ ใช้ระบบ QR-Code ในการเก็บข้อมูลเป็นรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และสถิติสำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบ รายคู่ในกรณีที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD)

ผลการศึกษาพบว่า

1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1,734 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นฐานการศึกษาก่อนเข้าศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดย (1) หลักสูตร 4 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) และสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (2) หลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาทั้งหมดสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) และ (3) หลักสูตรเทียบโอน นักศึกษาทั้งหมดสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ส่วนใหญ่มีผลการเรียนก่อนเข้าศึกษา ระหว่าง 3.01 – 3.50 จำนวน 683 คน คิดเป็นร้อยละ 39.39 ช่องทางการรับรู้ข้อมูลการสมัครเข้าศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลการสมัครเข้าศึกษาต่อผ่านทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

2.นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดในด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกมากเป็นอันดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.15 รองลงมาได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือของสถาบัน มีค่าเฉลี่ย 4.07 ด้านหลักสูตรการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.07 และด้านค่าใช้จ่าย มีค่าเฉลี่ย 3.93 ตามลำดับ

3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 กับปัจจัยส่วนประสมการตลาด พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 2 ปัจจัย คือ เพศและพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Abstract

The objective of this research was to study personal factors and marketing mix factor affecting decision to study bachelor’s degree at the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi during academic year 2020. Population of this study were of 1,734 first-year students of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi during Academic Year 2020. Research tool was online questionnaire using QR Code. Statistics included frequency, percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, One-way ANOVA with Fisher’s least significant difference (LSD).

The findings indicates that:

1. Most of 1,734 first-year students studying bachelor’s degree at the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi are female and live in Bangkok and metropolitan area. In terms of education foundation analysis, there are 3 groups: (1) students who decided to study in 4-year curriculum graduated from high school certificate (Grade 12) and vocational education certificate (Vocational Certificate), (2) students who decided to study in 4-year international program curriculum graduated from high school certificate and (3) students who decided to study in 2-year curriculum graduated from high vocational education certificate (High Vocational Certificate). Most of them obtained grade point average (GPA) of 3.01-3.50 (683 persons or 39.39 percent) as well as the admission channel includes website of the university.

2. Students of bachelor’s degree have opinion towards marketing mix factors in terms of environment and facilities in the highest rank with mean score as of 4.15, followed by institution reputation with mean score as of 4.07, curriculum with mean score as of 4.07 and expense with mean score as of 3.93, respectively.

3. Analysis of personal factors of the first-year students studying at the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi during academic year 2020 with marketing mix factors, the result indicates that two different personal factors including gender and education foundation obtains the mean score of marketing mix factors in making decision to study bachelor’s degree differently at the statistically significant level as of 0.05.


Downloadปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563