Production of participatory public relations media using symbolic images on oral health for children

โดย เพ็ญนภา โชติธรรมโม

ปี 2562


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็ก ที่ได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็ก ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5 – 6 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อด้วยภาพสัญลักษณ์ และแบบทดสอบความสามารถด้านการรับรู้ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษากระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก พบว่า ด้านองค์ประกอบของสื่อ กลุ่มทดลองมีผลการคัดเลือกไปในทิศทางเดียวกับผู้เชี่ยวชาญ และด้านเนื้อหา มีความถูกต้องเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก 2) ระดับความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก พบว่า โดยรวมมีการรับรู้อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.64 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับดีมาก ด้านที่มีการรับรู้มากที่สุด คือ ด้านการแปลความหมาย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 รองลงมา คือ ด้านการให้เหตุผล โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 3) ความสามารถทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก พบว่า สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ เรื่องสุขภาพในช่องปากสำหรับเด็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยก่อนการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 6.13 และหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ย 8.64 มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.51


ABSTRACT

This research aimed to: 1) study the production process of participatory public relations media using symbolic images on oral health for children, 2) find out the perception ability of students toward the activity using the participatory public relations media in the form of symbolic images on oral health for children and 3) compare their perception ability before and after using the produced media.

The samples included 30 kindergarten students aged 5-6 years currently studying at Kindergarten 3, Kindergarten of Thammasat University and was chosen by simple random sampling. The research instruments consisted of an activity using symbolic image media and a perception test on oral health for children. The collected data were analyzed through descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation.

The research results showed that: 1) for the production process, both students and experts chose the same media components, and agreed on the accuracy and appropriateness for media production, 2) the overall perception ability of the students after engaging in the activity was at a high level with an average score of 8.64 – 4.37 for interpretation aspect and 4.27 for reasoning aspect and 3) their perception ability after participating in the activity provided was higher than that of before engaging in the activity at a statistically significant difference level of .01 with the average scores of 6.13 and 8.46 for before and after participating in the activity.


Download : Production of participatory public relations media using symbolic images on oral health for children