The Study of perception behavior toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media

โดย พนมฉัต คงพุ่ม

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 327 คน และนักศึกษา จำนวน 379 รวมทั้งสิ้น 706 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 14 ข้อ

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางเพจเฟซบุ๊ก (www.facebook. com/rmutt.official. : ราชมงคลธัญบุรี RMUTT) มากที่สุด เข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัย 1-2 วันต่อสัปดาห์ มีความถี่ในการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ 2-5 ครั้ง ต่อวัน ช่วงเวลา 18.01-21.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัย มากที่สุด โดยภาพรวมแล้วใช้ระยะเวลาในการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ คือ โทรศัพท์มือถือ สถานที่ที่ใช้ในการเข้าถึง สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์มากที่สุด คือ บ้าน/หอพัก

ลักษณะความสนใจและการมีปฏิสัมพันธ์ในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะติดตามสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เพราะต้องการติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้อง มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ โดยการกดถูกใจหรือกดติดตามสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ในแต่ละช่องทางมากที่สุด สำหรับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยและเพจเฟซบุ๊กมหาวิทยาลัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในการรับรู้ข่าวสาร ประกาศ ของมหาวิทยาลัย คณะ และหน่วยงานมากที่สุด ส่วนทวิตเตอร์มหาวิทยาลัย ยูทูบมหาวิทยาลัย และอัลบั้มภาพมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะไม่ได้ติดตามหรือไม่เคยเข้าถึงสื่อออนไลน์นี้

ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของบุคลากรกับพฤติกรรมการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับช่องทางการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์และเหตุผลในการติดตามสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาในการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน และตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับเหตุผลในในการติดตามสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract

The purposes of this research were to study about perception behavior toward online media and to study relationship between personnel status and perception behavior toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media. The samples were 327 of Support department personnel and Academic personnel and 379 of University students. Instrumentation was composed of perception behavior questionnaire toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media.

The result of this research found that the participants’ perception behavior toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media were mostly using Facebook page (www.facebook.com/rmutt.official. : RMUTT) to access information and news. The participants spent 1 to 2 days a week to access university online media and 2 to 5 times a day. And average access time was usually 6 pm. to 9 pm. Generally, time spent for access university online media was less than 1 hour per day with mobile phone at home or dormitory.

The interest and interaction toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media were to keep track for relevant news by hitting like and subscribe. University website and Facebook page was mostly use to receiving news or announcements from university, faculty and department. University twitter, Youtube or photo album was rarely access.

The analysis of relationship between personnel status and perception behavior toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media was found that gender difference was related to channel and reason accession. Age difference was related to time accession. Gadget and purpose difference were related to reason to access with Statistically significant level at .05


DownloadThe Study of perception behavior toward Rajamangala University of Technology Thanyabusi’s online media