Governmental payment’s efficiency by E-payment system of Finance Division at Rajamangala University of Tecnology Thanyaburi.

โดย ปรียาพร วัฒนปัญญาขจร

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของกองคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจ่ายเงินของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป และเคยได้รับเงินจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีผ่านระบบ e-Payment ประกอบไปด้วยบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 255 คน และบุคคลภายนอกที่ติดต่อขอรับเงินกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 65 คน รวมเป็น 320 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราวัดประเมินค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regressions) ณ ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจต่อระบบ e-payment และการรับรู้ความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ 2.89 และ 2.75 ตามลำดับ ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ และประสิทธิภาพการจ่ายเงินของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ 3.68 และ 3.66 ตามลำดับ และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจต่อระบบ e-payment และการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจ่ายเงินของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่การรับรู้ความเสี่ยงไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจ่ายเงินของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ABSTRACT

The purposes of this research were to investigate 1) factors affecting the payment via e-Payment system of finance division Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) the governmental payment’s efficiency via the electronic system.

The sample group in this study was 320 people who had more than one year of working experience and had received money from Rajamangala University of Technology Thanyaburi via e-Payment system. They consisted of 255 internal employees and 65 external employees selected by stratified random sampling method. The instrument used to collect data was a 5-scale questionnaire. Statistics used to analysis data were descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation; and inferential statistics including multiple linear regression at the statistically significant level of 0.05.

The results showed that the factors in terms of knowledge and comprehension of e-payment system and risk recognition were rated at the medium level with the mean score of 2.89 and 2.75, respectively. The factors of information technology acceptance and governmental payment’s efficiency by e-Payment system were rated at the high level with the mean score of 3.68 and 3.66, respectively. In addition, the factors in terms of knowledge and comprehension of e-payment system and information technology acceptance had an influence on governmental payment’s efficiency by e- Payment system. While the factor in terms of risk recognition had no effect of governmental payment’s efficiency by e-Payment system at the statistically significant level of 0.05

 Download: ประสิทธิภาพการจ่ายเงินของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี