Guidelines to develop digital literacy for teachers under secondary educational service area office 7

โดย นวพัฒน์ เก็มกาแมน

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการรู้ดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 345 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified)

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการรู้ดิจิทัลของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.13, S.D. = 0.79) และสภาพที่พึงประสงค์การรู้ดิจิทัลของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.55, S.D. = 0.74) 2) ความต้องการจำเป็นของพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู ตามการจัดลำดับมากที่สุด ได้แก่ (1) ด้านการใช้ (2) ด้านการสร้างสรรค์ (3) ด้านจริยธรรม (4) ด้านความเข้าใจ (5) ด้านการเข้าถึง และ (6) ด้านการสื่อสาร ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครู ได้แก่ (1) ด้านการใช้ การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ (2) ด้านการสร้างสรรค์ กระตุ้นการสร้างเจตคติการพัฒนาสื่อการสอนบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย (3) ด้านจริยธรรม การให้ความรู้ทางพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์และการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย (4) ด้านความเข้าใจ ส่งเสริมความเข้าใจที่เหมาะสมกับผู้เรียนอย่างมีวิจารณญาณ (5) ด้านการเข้าถึง สนับสนุนอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีให้มีความพร้อมอยู่เสมอ และ (6) ด้านการสื่อสาร ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมผ่านการใช้ดิจิทัล


Abstract

This research aimed to: 1) examine current and desirable conditions of teachers’ digital literacy under secondary educational service area office 7, 2) investigate the needs of digital literacy development for teachers under secondary educational service area office 7 and 3) present the guidelines to develop digital literacy for teachers under secondary educational service area office 7.

The samples of this research, selected using stratified random sampling, consisted of 345 teachers in schools under secondary educational service area office 7. The research instrument used for collecting data was a dual-response format questionnaire (r = 0.93). The data were analyzed using mean, standard deviation, and priority needs index (PNIModified).

The research result revealed that: 1) the current state of digital literacy of teachers, as a whole, was at a high level (X̅ = 4.13, S.D. = 0.79) and their desired state was at the highest level (X̅ = 4.55, S.D. = 0.74), 2) the needs of the digital literacy development for teachers were respectively sorted descending order of the needs as follows: (1) use, (2) creativity, (3) ethics, (4) understanding, (5) accessibility and (6) communication; and 3) the proposed guidelines to develop digital literacy for teachers were categorized according to the needs in descending order as: (1) use – to train a workshop on effective use of tools; (2) creativity – to stimulate the attitude of teaching materials development on various platforms; (3) ethics – to educate computer law and the use of digital for security; (4) understanding – to promote appropriate understanding of learners with critiques; (5) accessibility – to always support technological equipment; (6) communication – to promote teamwork through the use of digital.


Download : แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7