Development of instructional media based on augmented reality technology with inquiry-based learning on the genius of king Rama Ix in art and culture for secondary 3 (grade 9) students
โดย วิภวานี เชิดฉาย
ปี 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังจากการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 3) หาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ มัธยมวัดหัตถสารเกษตร ในพระราชูปถัมภ์ฯ จังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2564 ภาคการศึกษาที่ 2 ทั้งหมด 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนจากการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพของสื่อ
ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีความจริงเสริมตามรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง พระอัจฉริยภาพรัชกาลที่ 9 ด้านศิลปวัฒนธรรม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 85.42/97.40 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีความจริงเสริม อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The objectives of this research were: 1) to determine the effectiveness of instructional media based on augmented reality technology, 2) to compare learning achievement before and after learning from augmented reality technology media, and 3) to determine student satisfaction towards the use of augmented reality technology media.
The sample comprised one class of forty students studying in Secondary 3 (Grade 9) at Teepangkorn Wittayapat Hathasarn Agricultural Secondary School under the Royal Patronage in Pathum Thani province in the second semester of the academic year 2021. Participants were drawn by simple random sampling technique. The research tools were augmented reality technology media, a pretest before and a posttest after learning from augmented reality technology media, and a questionnaire for assessing student satisfaction towards augmented reality technology media. The statistical devices used in the data analysis were mean, percentage, standard deviation, and efficiency of the instructional media.
The research results revealed that instructional media based on augmented reality technology with inquiry-based learning on the genius of King RAMA IX in Art and Culture for Secondary 3 (Grade 9) students had the average efficiency according to the criteria of 85.42/97.40. The students’ achievement after learning by using the media was higher than before exposing it to them. There was a statistically significant difference at the .05. level. Additionally, student satisfaction towards the augmented reality technology media was at the highest level.