A Study on Morphology of Co-Culture between Trichoderma reesei RT-P1 and Saccharomyces cerevisiae RT-P2 for Ethanol Production

โดย ประดับรัฐ ประจันเขตต์, ผ่องศรี ศิวราศักดิ์, จุไรรัตน์ ดวงเดือน และ ณัฐวรรณ คุปตพิทยานันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับสัณฐานวิทยาของเชื้อราสายพันธุ์ Trichoderma reesei RT-P1 และยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae RT-P2 ที่นำมาเพาะเลี้ยงร่วมกัน เพื่อการพัฒนาเป็นเชื้อผสมที่ใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอล โดยทำการศึกษาสัณฐานวิทยาของเชื้อราสายพันธุ์ Trichoderma reesei RT-P1 บนอาหาร PDA และยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces cerevisiae RT-P2 บนอาหาร YMA จากนั้นทำการศึกษา การเจริญร่วมกันของเชื้อจุลินทรีย์ทั้ งสองชนิดบนอาหารวุ้นแข็ง PDA (TY-P) และบนกากมันสำปะหลังในอาหารเหลว LM-pH5 (TY-FS) เมื่อนำเชื้อ ผสมที่เพาะเลี้ยงบนอาหารทั้ งสองชนิดมาศึกษาสัณฐานวิทยาภายใต้กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบ กำลังขยาย 40 เท่า ตรวจวัดขนาดโคนิดิโอฟอร์ ของเชื้อผสมมีความกว้าง 3.59 – 5.97 .m และ 3.18 – 4.81.m ยาว 25.60 – 30.29 .m และ 18.39 – 23.04 .m ขนาดก้านชูสปอร์กว้าง 3.03 – 3.07 .m และ 2.05 – 3.07 .m ยาว 12.25 – 14.59 .m และ 10.29 – 11.52 .m และขนาดสปอร์กว้าง 2.88 – 5.23 .m และ 2.73 – 3.75 .m ยาว 4.35 – 5.92 .m และ 3.58 – 4.61 .m ตามลำดับ จากผลการวิจัยพบว่าสัณฐานวิทยาของเชื้อผสมมีการเปลี่ยนแปลง โดยโครงสร้างของโคนิโอฟอร์ ก้านชูสปอร์ และสปอร์มีขนาดใหญ่ขึ้น เชื้อผสมมีการเจริญเติบโตบนอาหารทั้งสองชนิดได้ดีกว่าเชื้อบริสุทธิ ์ ส่วนการศึกษาเชื้อผสมภายใต้กล้อง จุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องผ่าน พบว่าไมซีเลียมของเชื้อรามีการเจริญปกคลุมเซลล์ยีสต์ ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการเจริญร่วมกันของจุลินทรีย์ ทั้ งสองชนิดนี้จึงมีความน่าสนใจในการทำวิจัยระดับอณูวิทยา รวมถึงการพัฒนาเป็นเชื้อผสมเพื่อใช้ในการผลิตเอธานอลต่อไปในอนาคต

DOWNLOAD : การศึกษาสัณฐานวิทยาของเชื้อผสมระหว่าง Trichoderma reesei RT-P1 และ Saccharomyces cerevisiae RT-P2 เพื่อการผลิตเอทานอล