Quality of Working Life and the Relationship of the Employees to the Organization in Gold Press IndustryCo., Ltd.

โดย ชนากานต์ ทูลกสิกร

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทโกลด์ เพรส อินดัสตรี จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของพนักงานที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ข้อมูลทั่วไปของพนักงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการและหัวหน้างานบริษัท โกลด์ เพรส อินดัสตรี จำกัด จำนวน 235 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามสัดส่วนหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานใช้การแจกแจงแบบที (t – test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่าสองกลุ่ม การเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธี Least – Significant Different (LSD) และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product monent correlation) ผลการศึกษาพบว่า
ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20 –30 ปี สถานภาพสมรส มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. ตำแหน่ง พนักงานทั่วไป หน่วยงานเชื่อม และประกอบ อายุงาน 4 –6 ปี และมีอัตราเงินเดือน 5,001 – 7,000 บาท ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน พนักงานให้ความสำคัญในระดับปานกลาง คือ ความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ความภาคภูมิใจในองค์กร โอกาสในการพัฒนาศักยภาพ สัมพันธภาพในองค์กร ธรรมนูญในองค์กร และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพและพนักงานให้ความสำคัญในระดับน้อยคือ รายได้และผลตอบแทน และความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านความผูกพันต่อองค์กร พนักงานให้ความสำคัญในระดับมาก คือ ความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ในการทำงานเพื่อประโยชน์ขององค์กรและพนักงานให้ความสำคัญในระดับปานกลาง คือความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพในองค์กร และความเชื่อมั่นในการยอมรับเป้าหมายและวัฒนธรรมขององค์กร ข้อเสนอแนะ มีดังนี้
1. พนักงานบางกลุ่มมีความคิดจะตัดสินใจลาออกจากบริษัททันทีหากมีบริษัทฯ อื่นให้ข้อเสนอที่ดีกว่า เนื่องจากต้องการได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่า เพื่อนำมาใช้จ่ายในครอบครัว เพราะรายรับที่ได้ในปัจจุบันไม่เพียงพอกับรายจ่าย และมองไม่เห็นว่าจะมีความก้าวหน้าต่อตำแหน่งหน้าที่ๆ ทำอยู่
2. พนักงานบางกลุ่มจะรอพิจารณาสวัสดิการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนที่สูงกว่าก่อนว่าสวัสดิการอื่น ๆ ที่จะได้รับ จากบริษัทอื่นนั้น เมื่อนำมาคำนวณแล้วจะคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจะเกิดขึ้นหลังจากย้ายที่ทำงานแล้วหรือไม่
3. พนักงานบางกลุ่มไม่ต้องการลาออกจากบริษัท (GPI) โดยไม่คำนึงถึงว่าบริษัทอื่นจะให้ค่าตอบแทนที่ดีกว่าหรือไม่ เพราะมีความพึงพอใจกับค่าตอบแทนที่ได้รับในปัจจุบันและมีความผูกพันต่อองค์กรเนื่องจากอยู่มาเป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทฯ ที่อยู่ใกล้บ้าน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือค่าที่พัก
4. พนักงานส่วนใหญ่มองว่าภาพลักษณ์ของบริษัทยังดีอยู่ทั้งในมุมมองของ ลูกค้าSupplier (ผู้ขายสินค้าให้แก่บริษัท) และ หน่วยงานราชการ โดยให้เหตุผลว่า GPI เป็นหนึ่งในเครือของ ไทยซัมมิท กรุ๊ป มีเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็งและมีความมั่นคงในการทำงานสูง

DOWNLOAD