Problem Analysis and Inventory Control: Case Study of a Company That Produced Chemical Fertilizer

โดย ดรุณี จันทรวงศ์

ปี 2552

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตปุ๋ยเคมี โดยศึกษาวัตถุดิบของบริษัท 5 ชนิด ได้แก่ วัตถุดิบสูตร 0 -0-60 วัตถุดิบสูตร 18-46-0 วัตถุดิบสูตร 25-0-0 วัตถุดิบสูตร 46-0-0 และวัตถุดิบสูตร 16-20-0โดยมีขั้นตอนการศึกษา ได้แก่ ทำการรวบรวมข้อมูลการใช้วัตถุดิบ รายงานการใช้วัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อรวมถึงการเก็บรักษาวัตถุดิบ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครื่องมือ 7 Waste เครื่องมือไดอะแกรมผังก้างปลา เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข โดยการระดมสมอง รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ขนาดการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) เพื่อเปรียบเทียบจุดสั่งซื้อที่เกิดขึ้นกับตัวแบบเดิมโดยเปรียบเทียบกับการสั่งซื้อจริงของเดือนกรกฎาคม 2551 จนถึงเดือนมิถุนายน 2552 หาค่าที่เหมาะสมในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

ผลการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบว่า สาเหตุของปัญหาในกระบวนการทำงานคือ พนักงานไม่มีคู่มือการทำงาน ทำให้พนักงานไม่ทราบขอบเขตการปฏิบัติงานของตนเอง ทำให้มีการปฏิบัติงานด้วยความเคยชิน มีการสูญเสียเวลารอข้อมูลวัตถุดิบคงเหลือ สูญเสียเวลาในการเคลื่อนย้าย สูญเสียเวลาที่เกิดจากการรอคำสั่งผลิต ในส่วนสาเหตุของปัญหาวัตถุดิบสูญหายที่เกิดขึ้นเพราะบริษัทกรณีศึกษาไม่มีการกำหนดหน้าที่ ให้มีผู้รับผิดชอบในการวางแผนการตรวจนับ การเสื่อมสภาพของวัตถุดิบของบริษัทฯ พบว่าสถานที่จัดเก็บมีความคับแคบ ไม่สามารถนำวัตถุดิบที่ซื้อมาก่อนนำออกมาใช้ในการผลิตได้ ในส่วนของวิธีการผลิตบริษัทฯ ที่ทำให้สูตรการผสมผลิตเนื่องจากไม่มีป้ายบอกวัตถุดิบที่ชัดเจนในการทำงาน ตัวเลขของสูตรซับซ้อน หลากหลาย ในส่วนของการควบคุมสินค้าคงคลังแบบการสั่งซื้อแบบประหยัด ทำให้จำนวนการสั่งซื้อที่ลดลง 4,648.04 ตัน มีต้นทุนการเก็บรักษาใหม่ที่ประหยัดมากกว่าในปัจจุบัน 474,168.80 บาท โดยมีต้นทุนการสั่งซื้อที่ 401,593.95 บาท โดยคิดเป็นต้นทุนรวมในการสั่งซื้ออย่างประหยัดเท่ากับ 780,278.70 บาท

This independent study aimed to analyze problems and control inventory level in a case study of a company that produced chemical fertilizer. The study concentrated on 5 types of raw materials including raw material formula 0-0-60, 18-46-0, 25-0-0, 46-0-0, and 16-20-0. The procedures of the study were to collect raw material usage data, raw material report, and raw material cost and maintenance cost. Data were analyzed by using 7 waste and fish bone diagram tools to analyze problems and find solutions by using brain storm. Data were collected to find Economic Order Quantity (EOQ) and compare ordering point with the typical model. The comparison was done by using the real order on July 2008 – June 2009 to find optimizing order for each time.

The results found that source of working procedures problems were no operation manual for employees, unclear working scope, working by experience, wasting time waiting for raw materials data from the inventory, wasting time transferring raw materials, and wasting time processing order. Source of losing raw materials problems were no people in charge with checking, expired raw materials, not enough space in the storage, and usage of raw material not in the correct order. Source of processing problems were no clear sign of raw materials in process and complicated formula numbers. In the inventory control, using EOQ caused 4,648.04 ton of reduction, saving 474,168.80 Baht of maintenance cost, using 401,593.95 Baht for ordering cost, and in total using 780,278.80 Baht for the ordering cost by using EOQ.

 

DOWNLOAD : Problem Analysis and Inventory Control: Case Study of a Company That Produced Chemical Fertilizer