โดย สมนึก สังข์หนู, ปิยนุช จริงจิตร

ปี     (2552)

บทคัดย่อ

ในการศึกษาสมบัติและลักษณะทางกายภาพของเส้นใยแมงมุมพันธุ์ Nephila นี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เส้นใยเก็บมาจาก 2 แหล่ง ได้แก่การดึงเส้นใยจากแมงมุมและเก็บเส้นใย เส้นใยทั้ง 2 แหล่งเป็นชนิดเส้นใยที่เรียกว่า Dragline จากนั้นได้นำมาทำการทดสอบ RTIR, DSC, TGA ทดสอบดูภาพตัดขวางและตามยาว การเผาไหม้ เบอร์เส้นใย และทดสอบการทนแรงดึง

ผลการทดสอบพบว่าเส้นใยแมงมุมมีส่วนประกอบหลักเป็น Spider Fibroin เส้นใยไม่หลอมละลายด้วยความร้อน การสูญเสียน้ำหนักในบรรยากาศไนโตรเจน พบว่าที่ช่วงแรก (อุณหภูมิต่ำกว่า 30-150℃) เส้นโค้ง TG บอกการสูญเสียน้ำหนัก 11.0% ทั้งนี้อาจจะเป็นน้ำที่เส้นใยดูดซับไว้สูญเสียไปดังได้สังเกตไว้ในการศึกษา DSC ในช่วงที่ 2 (อุณหภูมิต่ำกว่า 150-800℃) เส้นโค้ง TG บอกการสูญเสียน้ำหนัก 62.8% อาจจะเป็นสลายกลุ่มโล่ของสารอินทรีย์ เช่น Amino Acid และจะเหลือเป็นขี้เถ้า สารอนินทรีย์ ประมาณ 26.2% ลักษณะทางภาคตัดขวางของเส้นใยแมงมุมพันธ์ Nephila เป็นวงกลม และภาพตามยาวเป็นทรงกระบอกผิวเรียบ เส้นใยมีสีเหลือง โปร่งแสง ขนาดความโตของเส้นใยที่ดึงจากตัวแมงมุมประมาณ 4.66-5.0 ไมครอน และขนาดเส้นใยที่เก็บจากตาข่ายประมาณ 7.99-10.0 ไมครอน การเผาไหม้ (Burning Test) เส้นใยแมงมุมพันธ์ Nephila พบว่าเมื่อจ่อใกล้เปลวไฟ เส้นใยจะม้วนหนีเปลวไฟ แต่เมื่อเผาไฟ เส้นใยโดนเผาไหม้ทันทีมีควันสีขาวและเมื่อนำออกมาจากเปลวไปไฟที่ติดดับลงไปเอง กลิ่นเผาไหม้คล้ายๆ ขนนกไหม้ไฟ ขี้เถ้าเป็นเม็ดสีดำ เปราะป่นเป็นผงได้ เบอร์ของเส้นใยแมงมุมที่ดึงมาจากตัวแมงมุม ในระบบเท็กซ์ (Tex) มีค่าเฉลี่ย 0.42 tex (3.78 Denier) เบอร์ของเส้นใยแมงมุมที่เก็บมาจากตาข่ายแมงมุม ในระบบเท็กซ์ (Tex) มีค่าเฉลี่ย 0.81 tex (7.29 Denier) เส้นใยที่ดึงจากแมงมุมมีค่า Tenacity 18.80 cN/tex มีการยืดตัวเฉลี่ยที่จุดขาดร้อยละ 18.2 ใยขณะที่เส้นใยที่เก็บจาก web มีค่า Tenacity 10.15 cB/tex มีการยืดตัวขณะขาดเฉลี่ยร้อยละ 35.19

DOWNLOAD : การศึกษาสมบัติของเส้นใยแมงมุมในเขตปริมณฑลและการนำไปใช้ในงานสิ่งทอ