Screening of Thermophilic Actinomycete from Agricultural Materials

 โดย กษมภรณ์ ทับทิมงาม, จุฑากาญจน์ สุวรรณน้อย, สุมิตรา พันธ์ดี

ปี     2553

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้คัดแยกแอคติโนมัยซีทจากกองวัสดุทางการเกษตร 7 ตัวอย่าง ของฝ่ายภูมิทัศน์กองพัฒนาอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บนอาหาร Carboxymethyl cellulose Agar (CMC Agar) นำมาศึกษาสัณฐานวิทยาบนอาหาร International Streptomyces Project Agar (ISP Agar) จัดจำแนกได้เป็นแอคติโนมัยซีท 6 ไอโซเลท ได้แก่ TK – 1 TK – 3 TK – 5 TK – 8 TK – 12 และ TK – 14 นำแอคติโนมัยซีทที่คัดแยกได้มาทดสอบความสามารถในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสบน CMC Agar สังเกตการสร้างบริเวณใส (Clear zone) โดยการหาอัตราส่วนระหว่างขนาดของบริเวณใสต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคโลนี พบว่า TK – 1 มีอัตราส่วนมากที่สุดเท่ากับ 6.0 เซนติเมตร รองลงมาคือ TK – 12 และ TK – 8 โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ 2.50 และ 2.14 เซนติเมตร ตามลำดับ จากนั้นเลือก TK – 1 TK – 8 และ TK – 12 ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างขนาดของบริเวณใสต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคโลนีสูงที่สุด มาศึกษากิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลส(Cellulase Activity) ในอาหาร CMC Broth พบว่า ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส (ชุดควบคุม) TK – 1 มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสสูงสุด ในวันที่ 4 โดยมีค่าเท่ากับ 0.06 U/ml รองลงมาคือ TK – 8 และ TK-12 มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสเท่ากับ 0.05 และ 0.03 U/ml ในวันที่ 5 และ 7 ตามลำดับ ส่วนที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส (ชุดทดลอง) TK- 8 มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสสูง สุดในวันที่ 5 โดยมีค่าเท่ากับ 0.07 U/ml รองลงมาคือ TK – 1 และ TK – 12 มีกิจกรรมของเอนไซม์ เซลลูเลสเท่ากับ 0.05 และ 0.04 U/ml ในวันที่ 5 และ 6 ตามลำดับ จากผลการศึกษากิจกรรม เอนไซม์เซลลูเลสของแอคติโนมัยซีทที่คัดแยกได้ พบว่าที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสแอคติโนมัยซีทมีการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสได้

DOWNLOAD : Screening of Thermophilic Actinomycete from Agricultural Materials