A study property of the structural weaved textile resisting penetration of bullet.

โดย: เฉลิมพล พุดศร

ปี: 2554

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติโครงสร้างผ้าทอต่อการลดเจาะทะลุของกระสุนปืนขนาด 9 มม. โดยที่นำเส้นด้ายไนลอน 6 ขนาด 840 ดีเนียร์ 192 ฟิลาเมนท์ มาทอเป็นผืนผ้าทอลาย 2/2 Basket และผืนผ้าทอลายทแยง 2/2 S-Twill ที่ความหนาแน่นของผืนผ้าทอแตกต่างกัน แล้วนำไปทดสอบการ เจาะทะลุของกระสุนปืนขนาด 9 มม.

ผืนผ้าทอลาย 2/2 Basket มีความหนาแน่นเส้นด้ายยืน 23 เส้น:นิ้ว ความหนาแน่นเส้นด้ายพุ่ง เท่ากับ 20 15 และ 10 เส้น:นิ้ว และผืนผ้าทอลายทแยง 2/2 S-Twill มีความหนาแน่นเส้นด้ายยืน 42 เส้น:นิ้ว ความหนาแน่นเส้นด้ายพุ่งเท่ากับ 40 30 และ 20 เส้น:นิ้ว นำผืนผ้าทอทั้ง 2 ลายมาทดสอบ สมบัติกายภาพ และนำผืนผ้าทอทั้ง 2 ลายมาตัดชิ้นทดสอบการเจาะทะลุของกระสุนปืน ขนาด 10 x 10 นิ้ว หลังจากนั้นนำมาวางซ้อนทับกันโดยที่การวางชิ้นทดสอบนั้นแนวเส้นด้ายยืนจะวางสลับกับแนว เส้นด้ายพุ่ง 90 องศา วางซ้อนกันทั้งหมด 120 ชั้น โดยที่แบ่งชิ้นทดสอบออกมา 60 ชั้น มาเย็บตามแนว ฝีเข็มแบบที่ 1 และอีก 60 ชั้นหลังมาเย็บตามแนวฝีเข็มแบบที่ 2 และนำไปทดสอบการเจาะทะลุของ กระสุนปืนตามมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหมว่าด้วยเสื้อเกราะกันกระสุน ระดับ 2A

ผลการทดสอบพบว่าโครงสร้างผ้าทอลาย 2/2 Basket และลายทแยง 2/2 S-Twill เมื่อความ หนาแน่นของผืนผ้าทอมีค่ามากขึ้น ทำให้ค่าน้ำหนักผืนผ้าทอ , ค่า Tensile และ ค่า Tearing ของผืนผ้า ทอนั้นๆ มีค่ามากขึ้น และเมื่อนำผืนผ้าทอไปทดสอบการเจาะทะลุของกระสุนปืนขนาด 9 มม. พบว่า โครงสร้างผ้าทอลายทแยง 2/2 S-Twill ที่มีความหนาแน่นเส้นด้ายยืน 42 เส้น : นิ้ว ความหนาแน่น เส้นด้ายพุ่งเท่ากับ 40 เส้น : นิ้ว สามารถลดการเจาะทะลุขนาด 9 มม.ได้ดีที่สุด สำหรับ 2 แนวฝีเข็มใน การเย็บยึดติดชิ้นทดสอบนั้นมีความแตกต่างกันในการลดการเจาะทะลุของกระสุนค่อนข้างน้อย

Download: การศึกษาคุณสมบัติโครงสร้างผ้าทอต่อการลดเจาะทะลุของกระสุนปืน