The Application of Fuzzy Quality Function Deployment for Design Electrostatic Hood

โดย เยาวรินทร์ รอดมณี และ ระพี กาญจนะ

ปี 2555

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันจำนวนร้านที่รับทำเครื่องดูดควันมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการร้านขายอาหารนิยมใช้เครื่องดูดควันมากขึ้น เครื่องดูดควันจึงเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูง จากการศึกษาพบว่าเครื่องดูดควันที่ใช้ตามร้านขายอาหารทั่วไปไม่มีระบบบำบัดอากาศ  ซึ่งมลภาวะจากการประกอบอาหารก็เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหามลภาวะทางอากาศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่ออกแบบเครื่องดูดควันใช้ไฟฟ้าสถิต โดยนำเอาเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD)มาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบโดยการหาความต้องการของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นวิธีที่แปลงความต้องการของลูกค้าไปสู่แนวทาง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าและข้อได้เปรียบทางการตลาดโดยนำมาใช้ร่วมกับทฤษฎีฟัซซี่เซตเพื่อลดความคลุมเครือในการประเมินของลูกค้าและทีมพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบร้านขายอาหารที่ใช้เครื่องดูดควันภายนอกอาคาร จำนวน 100 ราย เริ่มแรกสำรวจความต้องการของลูกค้า พบว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด รองลงมาคือความปลอดภัยในการใช้งาน และสามารถดูดควันได้หมด จากนั้นแปลงความต้องการของลูกค้าให้เป็นคุณลักษณะวิศวกรรมใน Fuzzy QFD เฟสที่ 1 ทำให้ทราบข้อกำหนดทางเทคนิคที่สำคัญคือ ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ รองลงมา ผ่านมาตรฐานรับรองความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และราคาจัดจำหน่ายสินค้า จากข้อกำหนดทางเทคนิคแปลงเข้าสู่ Fuzzy QFD เฟสที่ 2 คือการกำหนดคุณลักษณะของส่วนประกอบ พบว่า ปัจจัยที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ ขนาดพัดลม รองลงมาวัสดุที่ใช้ทำโครง และวัสดุที่ใช้กรองฝุ่น จากผลการวิจัยนี้ทำให้ได้แนวทางในการออกแบบเครื่องดักควันใช้ไฟฟ้าสถิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Download : การประยุกต์ใช้ฟัซซี่เซตร่วมกับการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพเป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องดูดควันแบบไฟฟ้าสถิต