The Interior Architectural Design Poposal Project Royal Thai Air Force Museum

โดย กมลวรรณ สินกิ่ม

ปี 2553

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกิจการการบินไทย โดยทรงตั้งเป็นแผนกการบินขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของจเรทหารช่างตราบจนกระทั่งได้วิวัฒนาการมาเป็น “กองทัพอากาศ” นับว่าเป็นเวลานานพอสมควร บรรดาเครื่องบิน เครื่องยนต์ อุปกรณ์การบิน ตลอดจนเอกสารต่างๆ ก็ได้เปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัยจนบางสิ่งบางอย่างได้เสื่อมสูญหายไปตามกาลเวลา ยากที่อนุชนรุ่นหลังจะหาดูหรือค้นคว้าศึกษาได้ วีรกรรมที่บรรพบุรุษของกองทัพอากาศได้สร้างขึ้นอย่างองอาจกล้าหาญ แต่สิ่งที่วีรบุรุษเหล่านั้นได้ใช้ในการประกอบวีรกรรมนับแต่จะเสื่อมโทรมสูญหายไป จะหาไว้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นลูกหลานได้ระลึกถึงก็นับวันจะหายาก ทั้งยังเป็นการประกาศให้บรรดาชาวโลกทั้งหมายได้ทราบถึงเกียรติคุณของกองทัพอากาศในอดีต ปัจจุบัน แลอนาคตว่า ภารกิจและหน้าที่ซึ่งกองทัพอากาศได้ปฏิบัติไปแล้วนั้น ได้ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ ประชาชนชาวไทย ซึ่งคุณธรรมเหล่านี้เกิดจากสรรพวัตถุทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นองค์ประกอบอันสำคัญ อันหนึ่งของกองทัพอากาศ

“กองทัพอากาศไทย” นับเป็นหนึ่งในสี่เหล่าทัพที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดและทันสมัยมากที่สุด นอกจากนี้เกียรติภูมิของกองทัพอากาศนั้น ก็เป็นที่เลื่องลือมายาวนาน นับเนื่องย้อนไปถึงตั้งแต่การเข้าร่วมสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในอารยประเทศ เกียรติประวัติ เกียรติภูมิ เหล่านี้จะแสดงออกสู่สาธารณชนในรูปของ “พิพิธภัณฑ์/การจัดแสดง” ที่จะสื่อถึงประวัติและเทคโนโลยีขององค์กรนั้นๆ กองทัพอากาศไทยก็ได้มีการจัดสรรพื้นที่ดินและตัวอาคารเพื่อสร้างกิจกรรมดังกล่าว แต่ปัจจุบันพบว่า เกิดปัญหาการขาดการดูแล และปรับปรุงให้ทันสมัยให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและความก้าวหน้าของสังคมในยุคปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับภาพลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ที่เป็นหอเกียรติภูมิของชาติ ให้มีพื้นฐานของการจัดแสดงสมบูรณ์ ปลอดภัย ได้สร้างความรู้สึก มีชีวิตชีวาและเกียรติขององค์กรผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้โดยตรงอย่าง “พิพิธภัณฑ์ทัพอากาศ” จึงเป็นที่มาของโครงการการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

Download : โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ