Silk  Fabric Dyeing with  Natural Dye from Green Banana Peel (Musa sapientum L.)

โดย รังสรรค์  จรอนันต์

ปี 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสีย้อมจากเปลือกกล้วยน้ำว้า  2) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย้อมผ้าสีผ้าไหม และ 3) ศึกษาสภาวะและระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้สารช่วยติด  และศึกษาผลของสารช่วยติดต่อความคงทนของสี วิธีการวิจัย คือ 1) การสกัดสีย้อมจากเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบ ใช้น้ำเป็นตัวสกัดที่อุณหภูมิ 95ºซ โดยศึกษาสัดส่วนเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบต่อน้ำและระยะเวลาในการสกัด  2)  การย้อมสีผ้าไหมจากเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบ  โดยศึกษาอุณหภูมิและระยะเวลาในการย้อม และ 3) สภาวะและระดับความเข้มข้นในการใช้สารช่วยติด และผลของสารช่วยติดต่อความคงทนของสี  โดยศึกษา ชนิด ระดับความเข้มข้นและสภาวะในการใช้สารช่วยติด  การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าสี (L* a* b*)และค่าความเข้มสี ( K/S) ด้วย ANOVA และเปรียบเทียบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan และทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก  ความคงทนของสีต่อแสง  และความคงทนของสีต่อการขัดถู ผลการศึกษา  พบว่า 1) สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสีย้อม คือ การใช้สัดส่วนเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบต่อน้ำที่ 1:3 ในระยะเวลาการสกัด 60 นาที  2) สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการย้อมสีผ้าไหม คือ การใช้อุณหภูมิ 90ºซ ในระยะเวลาการย้อม 60 นาที และ 3) สภาวะและระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้สารช่วยติด คือ สารส้มทุกสภาวะเหมาะสมกับการใช้ในความเข้มข้นร้อยละ 6 จุนสีใช้เป็นสารช่วยติดก่อนย้อมในความเข้มข้นร้อยละ 4 จุนสีใช้เป็นสารช่วยติดย้อมพร้อมละหลังย้อมในความเข้มข้นร้อยละ 2 และเหล็กใช้เป็นสารช่วยติดก่อนย้อมและหลังย้อมในความเข้มข้นร้อยละ 2 และเหล็กใช้เป็นสารช่วยติดย้อมพร้อมในความเข้มข้นร้อยละ 4 ผลการทดสอบความคงทนของสีพบว่า  การใช้สารส้มมีความคงทนของสีต่อการซักอยู่ในระดับดีถึงดีมาก  การใช้จุนสีเป็นสารช่วยติดหลังย้อมมีความคงทนของสีต่อแสงอยู่ในระดับดี  และการใช้สารช่วยติดทั้ง 3 ชนิดทุกสภาวะมีความคงทนของสีต่อการขัดถูอยู่ในระดับดีถึงดีมาก

This study attempted to investigate (1) an optimum condition to extract natural dye from green banana peel, (2) an optimum condition to dye silk fabric, and (3) an optimum condition and level of concentration in using mordant in using mordant and its effect on color fastness. The research methodology included the following steps. Firstly, water was used to extract natural dye from green banana peel at 90 C in order to find out the suitable proportion of water and green banana peel and the extract time. Next, silk fabric was dyed with green banana peel intending to find out the proper temperature and dyeing time. Lastly, the condition and its concentration of using mordant on color fastness was studied to investigate type, concentration and condition of the mordant. The data collected was then analyzed by the analysis of  variance on color (L*a*b*), and color strength (K/S) and Duncan to compare the variance and its color fastness to washing artificial light and rubbing. The results indicated that (1) the optimum condition was the proportion of green banana peel and water at 1:3 for 60-minute extract, (2) the suitable condition of dyeing silk fabric was at 90 ºC For 60 minutes, and  (3) the proper condition and concentration of using mordant was 6% of potassium aluminium sulphate in all conditions while 4% of copper sulphate in pre-mordant and 2% of copper sulphate in meta and post-mordant, 2% of ferrous sulphate in pre and post-mordant and 4% of ferrous sulphate in meta-mordant. The results of color fastness showed that potassium alunimium sulphate had a good to very good level of color fastness to washing. On the hand, copper sulphate had the color fastness to artificial light at a good level while the three mordants in all conditions had a good to very good level of color fastness to rubbing.

Download : Silk Fabric Dyeing with Natural Dye from Green Banana Peel (Musa sapientum L.)