The study gloss the toner powder metallic on sticker Polyvinylchloride with screen printing

โดย นายพรเทพ ศรีภู่ทอง

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาความมันเงาของหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงเมทัลลิคบนสติ๊กเกอร์พีวีซี มีความสำคัญในการพิมพ์ภาพสกรีน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นส่วนสำคัญในการแสดงออกของภาพให้ดูเด่นชัด ความมันเงาเป็นธรรมชาติ โดยการศึกษาความมันเงาของหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงเมทัลลิคบนสติ๊กเกอร์พีวีซี โดยกำหนดสูตรการทดลองครั้งนี้ ทั้งหมด 4 สูตร คือ ทำการผสมหมึกพิมพ์และผงเมทัลลิคในอัตราส่วนดังนี้ หมึกพิมพ์สกรีนสีน้ำเงิน 90 กรัม ผงเมทัลลิค 10 กรัม, หมึกพิมพ์สกรีนสีน้ำเงิน 85 กรัม ผงเมทัลลิค 15 กรัม, หมึกพิมพ์สกรีนสีน้ำเงิน 80 กรัม ผงเมทัลลิค 20 กรัม, และหมึกพิมพ์สกรีนสีน้ำเงิน 75 กรัม ผงเมทัลลิค 25 กรัม และใช้ภาพต้นฉบับ 1 แบบ ออกแบบภาพเป็นภาพเวกเตอร์,ลายเส้น,ตัวอักษร,รูปวงกลม พิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์ผิวเรียบซึ่งได้กำหนดเป็นสติ๊กเกอร์พีวีซีสีขาว พิมพ์โดยการปาดมือแล้วนำภาพที่พิมพ์ได้นำมาวัดค่าและสรุปผล นำผลมาวิเคราะห์

ผลการศึกษาปรากฏว่า หมึกพิมพ์สกรีนสีน้ำเงินที่ผสมผงเมทัลลิค 90/10 กรัม จะมีค่าความมันเงาดีที่สุดอยู่ที่67.64 จากการทดลองหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงเมทัลลิค ทั้งหมด 4 สูตร มีความมันเงามากกว่าสูตรที่ผสมผงเมทัลลิค ที่ผสม 85/15 กรัมจะมีความมันเงาอยู่ที่ 65.7 จะใกล้เคียงกับหมึกที่ผสมผงเมทัลลิคที่ผสม 90/10 กรัม ส่วนสูตรที่ผสม 80/20 กรัมความมันเงาจะอยู่ที่ 66.02 และ 75/25 กรัมความมันเงาอยู่ที่ 63.14 หมึกพิมพ์ที่มีความมันเงาน้อยที่สุดอยู่ที่ 54.69 และยังสามารถนำสูตรที่ผสมหมึกพิมพ์สีน้ำเงินที่ผสมผงเมทัลลิคในอัตราส่วน 90/10 กรัม นำไปใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนได้ และยังลดต้นทุนในการผลิต ทำให้งานพิมพ์สกรีนบนสติ๊กเกอร์พีวีซีมีความสวยงามมีสีสันมันเงาเหมือนเดิม


วัตถุประสงค์

  1. ศึกษาการใช้ผงเมทัลลิคที่เหมาะสมกับงานพิมพ์บนสติ๊กเกอร์พีวีซีในระบบการพิมพ์สกรีน
  2. ศึกษาค่าความมันเงาบนสติ๊กเกอร์พีวีซี
  3. ศึกษาการพิมพ์สกรีนผสมผงเมทัลลิคเพื่อหาคุณภาพงานพิมพ์ที่ดี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เพื่อทราบถึงขบวนการทำงานของระบบการพิมพ์สกรีน
  2. เพื่อทราบอัตรางานการผสมผงเมทัลลิคในงานพิมพ์สกรีน
  3. เพื่อทราบถึงการควบคุมหมึกพิมพ์ให้เกิดคุณภาพ

ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง เพื่อศึกษางานพิมพ์สกรีนลงบนสติ๊กเกอร์พลาสติกใสพีวีซีและนำงานที่พิมพ์เสร็จมาวิเคราะห์สรุปผล เพื่อทราบถึงค่าความมันเงาของผงเมทัลลิคที่ผสมลงไปในหมึกพิมพ์สกรีน เพื่อนำไปผลิตงานที่มีคุณภาพและการลดต้นทุนปริมาณการใช้ผงเมทัลลิค และสรุปการศึกษาโดยการวัดค่าความมันเงาของภาพการพิมพ์สกรีนด้วยเครื่อง Gloss meter ของภาพจากงานพิมพ์สกรีน


สรุปผลการศึกษา

การศึกษาความมันเงาของหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงเมทัลลิคบนสติ๊กเกอร์พีวีซีด้วยระบบการพิมพ์สกรีน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

ในการทดสอบครั้งนี้ได้ทำการเตรียมหมึกพิมพ์สกรีนฐานน้ำมันจำนวน 1 สี ได้แก่ สีน้ำเงิน มาทำการผสมผงเมทัลลิคในอัตราส่วน 200 กรัมทั้งหมด 4 รูปแบบแบ่งเป็นหมึกที่ผสมผงเมทัลลิค 75/25, 80/20, 85/15 และ 90/10 กรัม นำมาทำการพิมพ์ทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ความมันเงา ความดำ ความแตกต่างสี และการยึดติด ของหมึกพิมพ์ที่ผสมผงเมทัลลิคและหมึกพิมพ์ที่ไม่ผสมผงเมทัลลิค โดยวิธีการทดสอบครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการเตรียมหมึกพิมพ์ฐานน้ำมันและผงเมทัลลิคที่ทำการผสม เมื่อผสมหมึกพิมพ์ครบทั้ง 4 สูตรแล้ว ได้ทำการนำหมึกไปทดสอบคุณสมบัติ ได้แก่ ทดสอบความละเอียด ความหนืด และการแห้งตัว ต่อจากนั้นทำการออกแบบแผ่นทดสอบเทสฟอร์มที่เตรียมไว้ โดยวิธีการปาดมือ เมื่อพิมพ์เสร็จควรรอให้หมึกแห้งตัว หลังจากนั้นนำชิ้นงานที่พิมพ์มาทำการทดสอบในการวัดค่าต่าง ๆ ได้แก่ ความมันเงา ความดำ ความแตกต่างสี การยึดติด จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล

จากผลการทดลองสรุปได้ว่า เมื่อผสมผงเมทัลลิคในหมึกพิมพ์จะทำให้ค่าความดำลดลงตามปริมาณของผงเมทัลลิคที่ผสมลงไปของแต่ละสูตรอาจเกิดจากผงเมทัลลิคไปทำปฏิกิริยากับหมึกพิมพ์ทำให้ค่าทึบแสงลดลง ส่วนค่าความแตกต่างสีหลังจากที่ผสมผงเมทัลลิคเข้ากับหมึกพบว่า มีความแตกต่างของสีเพิ่มขึ้นตามปริมาณของผงเมทัลลิคที่อยู่ในหมึกพิมพ์ และคุณสมบัติความมันเงาเมื่อทำการผสมผงเมทัลลิคกับหมึกพิมพ์ที่มีความมันเงามาก พบว่าค่าความมันเงาลดลงตามปริมาณของผงเมทัลลิคที่ได้ทำการผสมเข้าไป หมึกพิมพ์สกรีนสีน้ำเงินที่ผสมผงเมทัลลิค 90/10 กรัม จะมีค่าความมันเงาดีที่สุดอยู่ที่ 67.64 จากการทดลองหมึกพิมพ์สกรีนที่ผสมผงเมทัลลิค ทั้งหมด 4 สูตร หมึกพิมพ์ที่ไม่ผสมผงเมทัลลิคมีความมันเงาน้อยที่สุดอยู่ที่ 54.69 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและชนิดของหมึกพิมพ์สกรีนนั้นว่ามีคุณสมบัติอย่างไร