Infographic Production “Danger of Catalyst Residues in Pork Meat”

จัดทำโดย ฉวีวรรณ เพิ่มโภค

สาขา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

การผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู” มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู” เพื่อศึกษาคุณภาพของสื่ออินโฟกราฟิกจากผู้เชี่ยวชาญ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มเป้าหมายในการประเมิน คือ แม่ค้าร้านอาหารตามสั่ง บริเวณรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู” แบบประเมินคุณภาพสื่อสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความพึงพอใจสำหรับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากผลการศึกษาพบว่าระดับคุณภาพของสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู” ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ท่าน พบว่า คุณภาพของสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู” อยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.25 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ ดี และความพึงพอใจที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างใน เนื้อหมู”จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อสื่อค่าเฉลี่ยที่ 4.45 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพ ดี เช่นกัน

คำสำคัญ: อินโฟกราฟิก, เบต้าอะโกนิสท์


ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ดังนี้

ขอบเขตด้านเนื้อหา

การผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง “อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู” เป็นสื่อที่ให้ ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเร่งเนื้อแดง เข้าใจถึงอันตรายของสารเร่งเนื้อแดงอย่างแท้จริงว่าอันตรายเพียงใดและมีแนวในการการสังเกตและเลือกซื้อเนื้อหมูอย่างไรให้ปลอดภัย โดยสื่ออินโฟกราฟิก มีความยาวประมาณ 3.04 นาที แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ช่วง ดังต่อไปนี้

  1. อันตรายของสารเร่งเนื้อแดงตกค้างในเนื้อหมู
  2. ผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค
  3. วิธีสังเกต
  4. วิธีการเลือกซื้อ

นิยามศัพท์

  1. อินโฟกราฟิก (Infographic) หมายถึง เป็นการแสดงผลของข้อมูลหรือความรู้โดยภาพที่อ่านและเข้าใจง่าย งานกราฟิกประเภทนี้นิยมใช้สาหรับข้อมูลที่มีความซับซ้อน
  2. โมชั่นกราฟฟิก (Motion Graphic) หมายถึง งานกราฟิกที่เคลื่อนไหวได้ โดยการนามาจัดเรียงต่อ ๆ กันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ การผสมผสานกันระหว่างงานดีไซน์กับภาพเคลื่อนไหวช่วยทาให้ตัวงานมีความน่าสนใจมากขึ้น
  3. เบต้าอะโกนิสต์ (b-Agonist) หมายถึง ตัวยาสาคัญในการผลิตยาบรรเทาโรคหอบ หืด ช่วยในการขยายหลอดลม และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว เพิ่มการสลายตัวไขมันที่สะสมในร่างกาย
  4. สารเร่งเนื้อแดง หมายถึง สารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ซึ่งมีผลข้างเคียงคือทาให้ชั้นไขมันลดลงและเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อหรือเนื้อแดง เมื่อใช้สารในปริมาณมากจะทาให้มีการขยายตัวของหลอดลม หลอดเลือดมีผลทาให้กล้ามเนื้อสั่น กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทาให้กล้ามเนื้อหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ปวดศีรษะ จึงต้องระมัดระวังการใช้สารนี้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเบาหวานและสตรีมีครรภ์

ผลงานนักศึกษา