จัดทำโดย นันทวุฒ ธิมาชัย;สุวิทย์ คำใสแสง;สหรัฐ เจริญผล

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสื่อแสดงแบบจำลองที่อยู่อาศัย โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการขาย เพื่อประเมินคุณภาพและความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ

วิธีการศึกษา ได้แก่ กำหนดขอบเขตของเนื้อหา ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำการผลิตสื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ และแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานขายบ้านหรือบุคคลวัยทำงานที่กาลังหาซื้อบ้าน ซึ่งมีอายุระหว่าง 30-60 ปี ในละแวกพื้นที่อาศัยอยู่ในอำเภอคลองหก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพของสื่อแสดงแบบจำลองที่อยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการขาย จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับ ดีมาก (Mean = 4.53, S.D. = 0.39) และด้านการออกแบบสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับ ดีมาก (Mean = 4.75, S.D. = 0.41) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (Mean = 4.64, S.D. = 0.02) พนักงานขายบ้านหรือบุคคลวัยทำงานจากกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.66) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 36.66) 41-50 ปี (ร้อยละ 33.33) 51-60 ปี (ร้อยละ 30) มีความพึงพอใจด้านการปฏิสัมพันธ์ อยู่ในระดับ ดี (Mean = 3.95, S.D. = 0.15) และด้านสื่อสิ่งพิมพ์ อยู่ในระดับ ดี (Mean = 4.09, S.D. = 0.08) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (Mean 4.02, S.D. = 0.05)

คำสำคัญ: แบบจำลองที่อยู่อาศัย, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ส่งเสริมการขาย


นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. แบบที่อยู่อาศัย หมายถึง รูปแบบที่อยู่อาศัยตัวอย่างที่ใช้สาหรับส่งเสริมการขายในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเสมือนจริง เป็นต้น
  2. เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality: AR) หมายถึง เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดความกลมกลืนกันมากที่สุดเพื่อส่งเสริมการขายบ้านโดยแสดงให้เห็นถึงแบบที่อยู่อาศัย
  3. การผลิตสื่อแสดงแบบจำลองที่อยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการขาย หมายถึง การนำแบบที่อยู่อาศัยมาผสานกับเทคโนโลยีความจริงเสริม สาหรับส่งเสริมงานขายให้การตัดสินใจของผู้ซื้อบ้าน

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตสื่อแสดงแบบจำลองที่อยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการขาย ตลอดจนการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้

  1. หลังจากผู้ศึกษาได้จัดทำการผลิต สื่อแสดงแบบจำลองที่อยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการขายเสร็จ พบว่า สื่อที่ได้มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินไปทำให้มีปัญหาต่อการดาวน์โหลดล่าช้า
  2. สื่อนำเสนอไม่ได้เพราะเครื่องมือในการนำเสนอสื่อประสิทธิภาพไม่เพียงพอ
  3. ขาดทักษะในการเขียนโค้ดเฉพาะทางในภาษา C
  4. การแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อค่อนข้างชัดเจน แต่เรื่องตัวเล่มวิทยานิพนธ์ค่อนข้างลำบากเพราะขาดความเข้าใจในเรื่องการทำเอกสาร
  5. ทักษะและประสบการณ์ในการนำเสนอของผู้วิจัยยังไม่พร้อมมากพอทำให้เวลาอธิบายตัวงานค่อนข้างไม่สมบูรณ์

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
    จากการนำสื่อการผลิตสื่อแสดงแบบจำลองที่อยู่อาศัยโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการขาย ให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านประเมินก็มีข้อเสนอแนะดังนี้

    1. ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 1 มีข้อเสนอแนะดังนี้ ความสะดวกในการใช้แอพพลิเคชั่น เพราะสื่อค่อนข้างใช้งานยากและรายละเอียดประกอบของแบบ
    2. ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 2 มีข้อเสนอแนะดังนี้ ควรทำรูปแบบการใช้งานให้ง่ายขึ้น และอาจจะเพิ่มรูปแบบเช่น มีเฟอร์นิเจอร์อะไรบ้าง
    3. ผู้เชี่ยวชาญท่านที่ 3 มีข้อเสนอแนะดังนี้ ควรจะให้มีเสียงบรรยายด้วย
  2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มตัวอย่าง
    แอปพลิเคชั่นมีการใช้ค่อนข้างยาก ควรให้เสียงดังขึ้น
  3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้วิจัย
    1. ความพร้อมของคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
    2. อยากให้สื่อมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมมากขึ้น
    3. ควรศึกษาข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติม
    4. กำหนดงาน และเวลาให้ชัดเจนและเข้ากันทั้งกลุ่ม
  4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    1. ควรทำสื่อให้มีรูปแบบการใช้งานให้ง่ายขึ้นเพราะสื่อค่อนข้างใช้งานยาก
    2. ปุ่มฟังก์ชั่นควรสื่อความหมายให้ชัดเจนกว่านี้
    3. ควรปรับแก้ให้สื่อมีความเสถียรมากขึ้น

ผลงานนักศึกษา