Analysis of plant availability of a large scale 1 MW PV rooftop power plant

โดย บัญชา งามชื่น

ปี 2562


บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการวิเคราะห์ความพร้อมในการผลิตกำลังไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคาขนาดใหญ่ 1 เมกะวัตต์ ด้วยโปรแกรมจำลอง PVsyst และผลการติดตั้งจริงของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกะวัตต์ อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกรวมที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์สมรรถนะและความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคาการดำเนินการจะเก็บข้อมูลของโรงไฟฟ้าและค่ากำลังการผลิตจริงในปี พ.ศ. 2560 และ 2561 วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะและความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ข้อมูลจากการจำลองผลด้วยโปรแกรมจำลอง PVsyst และข้อมูลจริงของโรงไฟฟ้า รวมทั้งทำการวิเคราะห์ผลของค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแวดล้อม ค่าอัตราส่วนสมรรถนะของกำลังการผลิต ค่าความเข้มแสง ค่าความพร้อมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าและค่ากำลังไฟฟ้าจริงที่ผลิตได้ผลการศึกษาพบว่าค่ากำลังการผลิตรวมที่ได้จากโปรแกรมจำลอง PVsyst มีค่า 1,452,004 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่ากำลังการผลิตรวมจริงในปี พ.ศ. 2560 และ 2561 ที่ค่า 1,450,036 กิโลวัตต์ชั่วโมง และ 1,412,652 กิโลวัตต์ชั่วโมง โดยมีกำลังการผลิตรวมจริงน้อยกว่า คิดเป็นร้อยละ -0.13 และ -2.7 ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแวดล้อมจากค่าจริงที่ตรวจวัดได้ที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.61 และ 1.85 ตามลำดับ ทำให้มีค่าอัตราส่วนสมรรถนะที่ลดลงคิดเป็นร้อยละ 0.02 และ 2.08 เป็นผลของการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตามฤดูกาล ในขณะที่ค่าความพร้อมการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2560 และ 2561 ที่ร้อยละ 100 และ ร้อยละ 99.97 ซึ่งในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2561 จะมีค่าต่ำที่ค่าร้อยละ 99.97 ที่ไม่สามารถขายไฟฟ้าได้จากปัญหาอุปกรณ์การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบกริดของการไฟฟ้าชำรุด ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสมรรถนะการผลิตของโรงไฟฟ้ามีความจำเป็นต้องพิจารณาประกอบการออกแบบในอนาคต


ABSTRACT

This thesis presents an analysis of plant availability of large scale 1 MW PV rooftop power plant by using PVsyst simulation program and the actual installation information and data of a 1 MW PV power plant in Mae Klong district, Samutsongkram province using PV crystalline module. Analysis of monitored data will be used as supplementary information to evaluate the performance ratio and plant availability of the PV rooftop power plants. The study used actual monitored data and power generation in year 2017 and 2018. The comparison analysis was investigated by using actual data and PVsyst simulation program. Analysis of important parameters were also included such as the effect of changes in ambient temperature, performance ratio (PR), Intensity of irradiation, plant availability factors (PAF), and the electric power production, respectively. The results showed that the total production capacity obtained from the PVsyst simulation program was 1,452,004 kWh, which was higher than the actual capacity in year 2017 and 2018 at 1,450,036 kWh and 1,412,652 kWh. The real total production capacity was less than simulation results at -0.13% and -2.7%, respectively. This result caused by an indirect effect of the ambient temperature from the actual measured values which increased by 1.61% and 1.85%, respectively. This effect of temperature was also influenced the reduction of performance ratio (PR) at 0.02% and 2.08%. While the Plant Availability Factor (PAF) in year 2017 and 2018 was 100% and 99.97%. The low PAF value of 99.97% happened in August 2018 because the power plant was unable to connect to PEA grid due to a problem of grid failure. Therefore, it is necessary to consider the impact of PR and PAF for future production capacity of the power plant.


DownloadAnalysis of plant availability of a large scale 1 MW PV rooftop power plant