The Study of Satisfaction of Welfare of Provident Fund Members of Rajamangala University Thanyaburi

โดย วาสนา ผิวผลาผล

ปี 2564


บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา

1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อสวัสดิการของพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานที่เป็นของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ จำนวน 286 ตัวอย่าง

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ F-Test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นบุคลากรสายสนับสนุน มีอายุ 36-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001–35,000 บาท และมีอายุงานมากกว่า 9 ปี ส่วนใหญ่สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มีระดับ ความพึงพอใจ ด้านสิทธิประโยชน์ที่ได้รับและด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการและด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มีภาพรวม ไม่แตกต่างกัน


ABSTRACT

This research aimed to 1) study satisfaction level of welfare the members of the provident fund at Rajamangala University of Technology Thanyaburi and 2) compare satisfaction of individual factors of welfare the members of provident fund at Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

The samples of the study included 286 members of the provident fund. Statistics used for data analysis were descriptive statistics including percentage, means, standard deviation, T-test and F-test.

The research results revealed that the majority of the correspondents were females, aged between 36 and 40 years old with education background of bachelor degree. The average income was 25,001-35,000 Baht per month. The years of service were more than 9. Most of the correspondents were personnel from the Faculty of Architecture. It showed that the members of provident fund expressed their satisfaction on benefits of provident fund and service staff at a high level. Meanwhile, the satisfaction on information provided by the staff and public relation was at a moderate level. For the results of the comparison of the personal satisfaction factors of the provident fund members There are no different on overviews.


Download: The Study of Satisfaction of Welfare of Provident Fund Members of Rajamangala University Thanyaburi