The Forecast of the Trend of Voluntary Car Insurance Rate

โดย สินีนาฏ ทักษิณาสถิต

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตหรือลดลงของอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิที่รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ คือ web site ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กองส่งเสริมการประกันภัยและสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยธนาคารแห่งประเทศไทย กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ประกอบไปด้วยเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ นำมาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระอีก 5 ตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อัตราเงินเฟ้อ การจำหน่ายรถยนต์ใหม่ ค่าสินไหมทดแทน และดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรม โดยการนำตัวแปรเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณเชิงซ้อน(Multiple Regression) โดยใช้โปรแกรม SPSS V.11.5 พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเติบโตหรือลดลงของอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ พบว่า อัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจมีความสัมพันธ์กับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ จำนวนค่าสินไหมทดแทนมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยมีสมการดังนี้
         Y = -31860623.850 + 61.891X1 + 0.601X2
โดยที่ Y = เบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจรวมทั้งระบบ
       X1 = ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (บาท)
       X2 = จำนวนค่าสินไหมทดแทน (บาท)
ส่วนที่สองเป็นการศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของการประกันภัยรถยนต์ โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพทั่วๆ ไปกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ พบว่าการประกันภัยรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันจะต้องทำประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535(พ.ร.บ.) ส่วนการประกันภัยภาคสมัครใจนั้นเป็นการทำโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์เอง ซึ่งในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยประเภท 1 , ประเภท 2 , ประเภท 3 ประเภท4 , และประเภท 5 ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ประเภท 2+ และประเภท 3+
ส่วนที่สาม เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มของอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจโดยใช้วิธีการพยากรณ์จากตัวแปรที่ได้วิเคราะห์ไปแล้วในส่วนที่หนึ่งซึ่งจะพยากรณ์ยอดขายในปี พ.ศ.2548– พ.ศ.2549 และเปรียบเทียบกับอัตราเบี้ยประกันภัยจริง พบว่าผลการแนวโน้มของอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจโดยใช้วิธีการพยากรณ์ ซึ่งใช้ข้อมูลในอดีต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 – พ.ศ.2547 โดยเข้ารูปแบบสมการกำลัง 3 (CUBIC) ได้รูปแบบสมการพยากรณ์ดังนี้
         Y = -31860623.850 + 61.891X1 + 0.601X2
โดยที่ Y = เบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจรวมทั้งระบบ
       X1 = ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (บาท)
       X2 = จำนวนค่าสินไหมทดแทน (บาท)
ผลการพยากรณ์ปี พ.ศ.2548 ได้ผลการพยากรณ์ดังนี้ 42,807,418,000 บาท และปี พ.ศ.2549ได้ผลการพยากรณ์ดังนี้ 47,125,059,000 ล้านบาท

DOWNLOAD