Demand of Transport Suppliers and Drivers’ Attitudes towards GPS Vehicle Tracking ; Case Study : Mon Transport Company Limited and J.Transport Company Limited

โดย โสภิดา วงค์ดวง

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระเรื่อง ความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง และทัศนคติของพนักงานขับรถขนส่งต่อการใช้งานระบบจีพีเอสกรณีศึกษา : บริษัทมนต์ ทรานสปอร์ตจำกัด และบริษัท เจ.ทรานสปอร์ทจำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง ที่นำระบบจีพีเอสมาใช้ ว่ามีปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำระบบจีพีเอสมาใช้ในธุรกิจขนส่งและเพื่อศึกษาทัศนคติ ของพนักงานขับรถขนส่ง รวมทั้งคุณสมบัติของโปรแกรมระบบจีพีเอสเบื้องต้น และประโยชน์ของการใช้งานระบบจีพีเอสในธุรกิจขนส่ง

วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์ผู้บริหารโดยใช้แบบสอบถามประกอบคำสัมภาษณ์ ประชากรที่ศึกษาประกอบไปด้วยผู้บริหารหน่วยงานขนส่งและโลจิสติกส์ บริษัท มนต์ทรานสปอร์ตจำกัด และบริษัท เจ.ทรานสปอร์ทจำกัด บริษัทละ 1 ท่าน และเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบจีพีเอสประจำสำนักงานบริษัทละ 3 คนรวมสัมภาษณ์ทั้งหมด 8 คนและการวัดทัศนคติของพนักงานขับรถขนส่งต่อระบบจีพีเอสที่ติดตั้งในยานพาหนะจะใช้แบบสอบถามปลายปิดทั้งหมด 270 ชุดกับพนักงานขับรถขนส่งของบริษัททั้งสองบริษัทแบ่งเป็นบริษัท มนต์ ทรานสปอร์ต จำกัด จำนวน 156 ชุด และบริษัท เจ.ทรานสปอร์ท จำกัดจำนวน 114 ชุด

ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารหน่วยธุรกิจ ต้องการนำระบบจีพีเอสมาใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อกระบวนการวางแผนการดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้าซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้าบริหารต้นทุนการขนส่ง โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อการผลิต การจัดเก็บเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ ส่วนพนักงานขับรถขนส่งมีความพึงพอใจในระบบจีพีเอสระดับปานกลางสรุปได้ในการปฏิบัติงานของพนักงานจะมีระบบจีพีเอสหรือไม่มีก็ได้ พนักงานก็ยังคงปฏิบัติงานขับรถขนส่งสินค้าได้เป็นปกติ พนักงานคิดว่า ระบบจีพีเอสทำให้พนักงานขับรถขนส่งขาดความเป็นส่วนตัวในการปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจาก ระบบมีการรายงานพฤติกรรมของพนักงานขับรถตลอดเวลาที.ผู้ดูแลระบบต้องการตรวจสอบ ด้านคุณสมบัติเด่นของระบบจีพีเอส คือสามารถตรวจสอบสถานะได้ตลอดเวลาในทุกสถานที.ที.มีสัญญาณ GPRS มีอุปกรณ์จำกัดความเร็วอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยและระบบแจ้งเตือนมีระบบค้นหาตำแหน่งรถที่ต้องการ สามารถสร้างแฟ้มข้อมูลออกรายงานต่าง ๆ ในรูปกราฟ และเก็บข้อมูลย้อนหลังได้ สามารกำหนดจุดหมายปลายทาง คำนวณ เวลา ปริมาณน้ำมันและระยะทางได้ ประโยชน์ที่สำคัญของระบบจีพีเอสที่เด่นชัด คือสามารถทำลายอุปสรรคด้านต้นทุนและเวลาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี บทบาทของจีพีเอสคือช่วยให้การทำงานของกระบวนการต่าง ๆ รวดเร็วขึ้น ในอนาคตธุรกิจขนส่งมีแนวโน้มนำระบบจีพีเอส มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเนื่อง จากสภาพเศรษฐกิจลักษณะการประกอบธุรกิจ ข้อกำหนดของวงการธุรกิจด้านการขนส่งให้นำระบบเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานรวมทั้งพัฒนาวงการธุรกิจประเภทเดียวกัน

DOWNLOAD : Demand of Transport Suppliers and Drivers’ Attitudes towards GPS Vehicle Tracking ; Case Study : Mon Transport Company Limited and J.Transport Company Limited