Interruption Cause Analysis for Provincial Electricity Authority Distribution System Center 1

โดย วิสูตร จันทร์นิล

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุกระแสไฟฟ้าขัดข้องในพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาค 3 (จ.พระนครศรีอยุธยา) เพื่อนำมาวางแผนในการป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง และศึกษาวิธีการป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องแต่ละสาเหตุ โดยเลือกพื้นที่ที่มีปัญหาค่าดัชนีความเชื่อถือได้สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด ในปี 2549 คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกบินทร์บุรี โดยพิจารณาข้อมูลสถิติกระแสไฟฟ้าขัดข้องสะสม ระหว่างปี 2548-2550 พบว่ามีกระแสไฟฟ้าขัดข้องทั้งหมด จำนวน 1,651 ครั้ง นำวงจรที่มีจำนวนครั้งการทำงานมากที่สุด 3อันดับแรก มาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง มีผลมาจากฤดูกาล และสภาพอากาศ โดยทำการทดสอบด้วยวิธีสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance: One Way ANOVA)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า วงจรที่มีการทำงานบ่อยครั้งมากที่สุด 3 อันดับแรกคือสถานีไฟฟ้านนทรีวงจรที่ 2, วงจรที่ 1 และวงจรที่ 3 ตามลำดับ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ทั้ง 3 วงจรมาจากสภาพแวดล้อมเป็นอันดับแรก จะเกิดปัญหาในช่วงเวลาที่มีฝนตก ฟ้าคะนอง ดังนั้นควรหาแนวทางการแก้ไขปัญหาฟ้าผ่า ด้วยการวางแผนปรับปรุงระบบจำหน่าย ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า และตรวจสอบค่ากราวด์สาเหตุอันดับ 2 คือ สัตว์ เกิดมาจาก งู และ นก สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล ดังนั้นควรหาแนวทางการแก้ไขด้วยการติดตั้ง Snake Guard และ Bird Guard สาเหตุอันดับที่ 3 คือ ต้นไม้ จะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน ดังนั้นควรกำหนดระยะเวลาในการตัดต้นไม้อย่างน้อยปีละ 2ครั้ง คือในช่วงเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน

DOWNLOAD : Interruption Cause Analysis for Provincial Electricity Authority Distribution System Center 1